ตะลิงปลิงตากแห้ง ง่ายๆ สไตล์คนเหนือ
ปีนี้ตะลิงปลิงออกลูกมาเต็มต้น ใครผ่านไปผ่านมาก็เป็นต้องถามว่านั่นมันต้นอะไร ทำไมเหมือนลูกมะดันจัง (คนเชียงใหม่ส่วนใหญ่ไม่รู้จักลูกตะลิงปลิง แถมยังกินไม่เป็นเอาซะเลย) พอเราเอาให้ชิม ทุกคนเป็นต้องทำหน้าเบี้ยว เพราะมันเปรี้ยวมาก แสนจะเสียดายอุตส่าห์ปลูกไว้แต่ใช้ประโยชน์อะไรก็ไม่ได้ เลยลองมั่วๆ ทำตะลิงปลิงตากแห้งดู
สูตรก็มีดังนี้
1. ตะลิงปลิง 2 กิโล
2. เกลือ 1 ถ้วยตวง
3. น้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม
4. ปูนขาว
ขั้นแรกล้างตะลิงปลิงให้สะอาด ตัดหัวตัดท้ายออกให้สวยงาม ใส่ตะกร้าพักไว้
จากนั้นนำเกลือไปต้มในน้ำให้ละลาย ใส่น้ำกะพอท่วมตะลิงปลิง นำน้ำเกลือต้มที่เย็นแล้ว เทลงไปในตะลิงปลิง
ปิดหน้าด้วยใบตอง ทิ้งไว้ประมาณ 1 วัน
นำ ตะลิงปลิงที่ดองในน้ำเกลือมาล้างน้ำให้สะอาด บีบลูกตะลิงปลิงให้น้ำเกลือออกมาพอแบนๆ แต่อย่าให้เละ ถ้าใครขยันหน่อยจะเอาเมล็ดออกด้วยก็ยิ่งดีเลย
ขั้น ต่อมาแล้วเตรียมน้ำปูนใส โดยการนำเอาปูนใส (สีขาวหรือแดงก็ได้) 1-2 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำพอท่วมตะลิงปลิง ทิ้งไว้ให้น้ำปูนตะกอน รินเอาน้ำปูนมาเทลงไปในตะลิงปลิง แช่ไว้ประมาณ 1 ชม. เทน้ำปูนใสออก พักตะลิงปลิงให้สะเด็ดน้ำ ต่อจากนั้นนำน้ำตาลทรายเทลงไปในตะลิงปลิง คนพอเข้ากัน ใช้ใบตองหรือถุงพลาสติกคลุมปากไว้
รุ่งขึ้นเทน้ำตาลทรายที่ ละลายแล้ว เอามาต้ม พอเดือดยกลง พักไว้ให้เย็นแล้วนำมาเทลงในตะลิงปลิง คลุมปากไว้เช่นเดิม ทำแบบนี้ประมาณ 3-4 วัน ถ้าใครชอบหวานลองชิมน้ำที่ออกมาจากตะลิงปลิงดู ถ้าเปรี้ยวก็เติมน้ำตาลลงไปอีกได้
พอ ครบกำหนดแล้ว นำตะลิงปลิงที่แช่ในน้ำตาลออกมาตากบนตะแกรง หรือบนถาดที่ใช้ถุงพลาสติกรองก็ได้ นำไปตากแดดจัดๆ ประมาณ 2-3 แดด จากประสบการณ์ไม่ควรใช้ตะแกรงตากแบบของเรา เพราะว่าพอตะลิงปลิงแห้งแล้วจะมีรอยตะแกรงติดอยู่ ดูไม่ค่อยงามสักเท่าไหร่ แต่ถ้าเราตากบนพลาสติกใสสีของตะลิงปลิงจะเสมอกันทั้งลูก ดูสวยงามน่ารับประทาน
แค่นี้เราก็จะได้ตะลิงปลิงเก็บไว้ทานได้เป็นเดือนๆ แล้วค่ะ
ลองทำดูนะค่ะ ของที่เราทำไว้กินเอง ปลอดภัย ไว้ใจได้ 100% ก็ทำเองกับมือนี่นา
อากาศร้อนๆ ถ้าได้ดื่มน้ำผลไม้แช่เย็นสักแก้วหรือสักขวดก็จะรู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้นมาทันตาเห็นแต่จะเลือกชนิดคั้นสด หรือชนิดใส่ขวดและกล่อง แบบไหนดีกว่ากัน
น้ำผลไม้แช่เย็นๆ ที่ดื่มปุ๊บแล้วสดชื่นปั๊บ ก็เพราะในน้ำผลไม้มีน้ำตาลฟรุคโตสที่ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้รวดเร็วทันทีกว่าผลไม้ที่หั่นเป็นชิ้นๆ แถมความเย็นก็จะไปช่วยคลายร้อนในร่างกายให้รู้สึกสดชื่นขึ้น อันเป็นการทำงานของความหวานบวกกับความเย็นและถ้าจะให้ดีควรเป็นชนิดคั้นสดหรือสกัดเย็น
น้ำผลไม้สกัดเย็น
ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นคำว่า “สกัดเย็น” ซึ่งเป็นกรรมวิธีการผลิตที่การันตีถึงของดีมีประโยชน์ โดยที่วิตามินต่างๆ ไม่ถูกทำลายไป คุณจึงเห็น
น้ำมันมะกอก น้ำมันงา น้ำมันมะพร้าว ผลิตด้วยวิธีสกัดเย็นเต็มท้องตลาด รวมทั้งน้ำผลไม้สกัดเย็น เพราะความร้อนไม่ไปทำลายวิตามินต่างๆ
แต่ในทางกลับกันความร้อนก็สามารถไปฆ่าเชื้อโรคทำให้อาหารสะอาดและเก็บได้นานขึ้น น้ำผลไม้สกัดเย็น คือน้ำผลไม้คั้นสดที่ไม่ผ่าน
ความร้อน จึงควรดื่มทันทีที่คั้นเสร็จ หรือไม่ก็แช่เย็นไว้ เพื่อไม่ให้เชื้อโรคเติบโตได้เร็ว ปัจจุบันเทรนด์การดื่ม น้ำผลไม้สกัดเย็นเพื่อสุขภาพ เช่น เสริมวิตามินซี ช่วยบู๊ตอัพร่างกาย ดีท็อกซ์ ขับสารพิษ กำลังมาแรง
ดังจะเห็นได้จากในซูเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ๆ หรือทาง อินเทอร์เน็ต และไม่ใช่น้ำผลไม้ชนิดเดียวอย่างน้ำส้มคั้นที่มีขายทั่วไปตามริมถนน แต่จะมีน้ำหลากหลายขึ้น เพราะเชื่อว่าน้ำผลไม้ชนิดเดียวหวานเกินไปจึงผสมน้ำผักรวมไปด้วยเพื่อให้ได้วิตามินครบถ้วน เช่น น้ำแอปเปิ้ลเขียวผสมเซเลอรี น้ำต้นข้าวสาลีอ่อน ผสมน้ำแอปเปิ้ลเขียวและน้ำฝรั่ง เป็นต้น
น้ำผลไม้สดเหล่านี้มักจะใส่ขวดแก้วหรือพลาสติกใสเนื้อแข็งคุณภาพดีเพื่อไม่ให้กรดในน้ำผลไม้ไปทำปฏิกิริยากับพลาสติก และยังเพิ่มลูกเล่นด้วยการใส่ขวดสี่เหลี่ยม ขวดอ้วนกลมให้เหมือนกับยาเป็นต้น บางแบรนด์พิถีพิถันเรื่องอุปกรณ์การคั้น เพราะปัจจุบันมีหลากหลายแบบให้เลือก เครื่องที่ใหญ่เกินไปและคั้นได้จำนวนมาก ในขณะทำงานเครื่องจะเกิดความร้อนและทำให้น้ำผลไม้สูญเสียวิตามินได้ ดังนั้นบางแบรนด์จึงเลือกเครื่องคั้นหรือสกัดน้ำผลไม้ซึ่งมีส่วนที่เป็นตัวคั้น (ที่ต้องใช้ไฟฟ้า) ไม่ใหญ่เกินไป และยังแยกใช้เครื่องที่สกัดพืชหัว เช่น แครอต บีตรูต กับผลไม้อย่างส้มที่มีน้ำมาก คนละเครื่อง และมีเทคนิควิธีคั้นเพื่อเพิ่มเนื้อบีตรูต หรือแครอตลงไปด้วยนิดหน่อย เพื่อช่วยเพิ่มกากใย
ให้ร่างกายเป็นต้น
น้ำผลไม้ เหล่านี้เรียกได้ว่าเป็นระดับพรีเมียมราคาสูง ไม่มีขายทั่วไปให้เห็นแต่จะขายเฉพาะในซูเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ๆ หรือร้านอาหาร ร้านกาแฟ
ในย่านหรู และขายทางอินเทอร์เน็ตตามออเดอร์ ราคาขั้นต่ำประมาณขวดละ 100 บาท จึงไม่ใช่น้ำผลไม้ภาพลักษณ์เดิมๆ อย่างที่เคยเห็น ส่วนคุณภาพก็ตามราคาและพอมั่นใจได้ว่าจะเก็บแช่เย็นไว้อย่างดี
น้ำผลไม้ 100 เปอร์เซ็นต์มีจริงไหม
นอกจาก น้ำผลไม้สกัดเย็น แล้ว น้ำผลไม้พร้อมดื่มที่คุณคุ้นเคยซึ่งวางขายอยู่ในร้านสะดวกซื้อ ทั้งชนิดขวดและชนิดกล่อง ทั้งผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศยี่ห้อแตกต่างกันไป จะมีฉลากที่เขียนกำกับไว้ ซึ่งบางคนอ่านแล้วจะงงๆ เช่น “น้ำผลไม้ 100%” (100% Juice) หมายถึงทำจากผลไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งล้วนๆ ไม่มีผลไม้อย่างอื่นปะปน “น้ำผลไม้ 100% จากน้ำผลไม้เข้มข้น” (100% Juice from Concentrate) หมายถึงทำจากน้ำผลไม้เข้มข้นมาเจือจางด้วยน้ำตามอัตราส่วน เพื่อให้มีคุณภาพเหมือนกับน้ำผลไม้ 100%
ส่วนน้ำผลไม้ที่ไม่ได้มาจากผลไม้ล้วนๆ ในฉลากต้องบอกตัวเลขกำกับด้วยว่าทำจากผลไม้กี่เปอร์เซ็นต์ เช่น น้ำส้ม 40% อีก 60% อาจเป็นน้ำแต่งสีแต่งกลิ่น ให้เหมือนน้ำส้มจริงๆ หรือมีส่วนผสมอื่น เช่น วุ้นน้ำมะพร้าว เกล็ดส้ม ซึ่งกฎหมายกำหนดว่าต้องระบุให้ชัดเจน แต่อย่างไรก็ต้องมีส่วนผสมที่เป็นผลไม้ไม่ต่ำกว่า 20% จึงจะใช้คำว่า “น้ำผลไม้” ได้จากข้อกำหนดเหล่านี้จึงไม่ได้หมายความว่าไม่มีส่วนผสมอื่นๆ นอกจากน้ำผลไม้ เพราะฉะนั้นน้ำผลไม้จึงสามารถใส่สี กลิ่น รส เติมให้ถูกใจผู้บริโภคได้ แต่ต้องมีการระบุไว้ในฉลากให้ชัดเจน ถ้าคุณอ่านดีๆ จะเห็นว่าเขียนเป็นเปอร์เซ็นต์ (แต่ตัวเล็กมาก) บางแบรนด์ใช้คำว่า ไม่เติมน้ำตาล (No Sugar Added) แปลว่าไม่มีการเติมน้ำตาลลงไป เพื่อปรุงรสให้หวานกว่าธรรมชาติของผลไม้นั้น
น้ำผลไม้ต่างประเทศที่ระบุว่า “ทำจากน้ำผลไม้ 100%” (Made with 100% Juice) ก็คือมีน้ำผลไม้ 100% เป็นส่วนผสม อาจเป็นน้ำผลไม้หลายชนิดผสมกัน หรือเป็นน้ำผลไม้ 100% ผสมกับส่วนผสมอื่นๆ ก็ได้ ส่วนน้ำผลไม้ที่ใส่ขวดหรือกล่องแบบใด จะดีกว่านั้นขึ้นอยู่กับระบบการฆ่าเชื้อโรค โดยทั่วไป ต้องฆ่าเชื้อด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งก่อน จึงเก็บได้นานเป็นน้ำผลไม้พร้อมดื่มโดยไม่ต้องใส่ตู้เย็น เช่น ถ้าเป็นการพาสเจอไรซ์โดยให้ความร้อนด้วยอุณหภูมิ ที่ไม่สูงนัก พอๆ กับการต้มเดือด แล้วจึงนำน้ำผลไม้ ไปใส่ขวด/กล่อง วิธีนี้ไม่ได้ฆ่าเชื้อโรคทั้งหมดจึงเก็บไว้ในตู้เย็นได้นาน 2-3 สัปดาห์ แต่ถ้าไว้นอกตู้เย็นก็จะเสียเร็วขึ้น ถ้าเป็นระบบสเตอริไรซ์จะบรรจุน้ำผลไม้ในขวด/กล่องหรือกระป๋องแล้วให้ความร้อนที่อุณหภูมิสูงกว่า 100 องศาเซลเซียสและทำให้เย็นทันที ส่วนกระบวนการ ยูเอชที คือให้ความร้อนน้ำผลไม้ที่อุณหภูมิสูงกว่า 121 องศาเซลเซียสอย่างน้อย 0.1 วินาทีแล้วทำให้เย็นทันที ก่อนที่จะบรรจุลงในกล่องยูเอชทีที่ปลอดเชื้อ
ด้วยความร้อนที่สูงมากเช่นนี้ เชื้อโรคจึงตายหมด ไม่จำเป็นต้องเติมสารกันบูด น้ำผลไม้เหล่านี้จึงเขียนบนฉลากว่า “ไม่ใช้วัตถุกันเสีย” (No Preservatives) ทำให้คนซื้อที่ไม่อ่านละเอียดเข้าใจสับสนว่าน่าจะเป็นน้ำผลไม้บริสุทธิ์ (ที่มีวิตามินด้วย) และแน่นอนว่าความร้อนสูงขนาดนี้ย่อมทำลายวิตามินต่างๆ ไปโดยปริยาย น้ำผลไม้เหล่านี้จึงต้องเติมวิตามินต่างๆ กลับเข้าไปเพื่อให้นน้ำผลไม้กลับมามีวิตามินและคุณค่าทางอาหารอีกครั้ง ซึ่งจะเติมมากเติมน้อยเป็นประโยชน์ต่อร่างกายหรือเท่ากับน้ำผลไม้คั้นสดหรือไม่ คุณก็ต้องอ่านฉลากให้ละเอียด
เรื่องของน้ำผลไม้ถ้าจะดื่มให้คลายร้อน มี วิตามิน และคุณค่าอาหารเต็มเปี่ยมก็ดูจะยุ่งยากใช้ได้อยู่ คล้ายจะเป็นเรื่องง่ายๆ แต่ไม่ง่าย หน้าร้อนนี้ ก่อนหยิบน้ำผลไม้พร้อมดื่มรสที่คุณชอบก็ควรอ่านฉลากให้ละเอียด ถ้ากลัวยุ่งยากและไม่ซีเรียสก็ดื่มสลับๆ กันไปทั้งชนิดพร้อมดื่มและคั้นสด เพราะถ้ามัวแต่คิดไปคิดมาอาจทำให้ ความร้อน ในร่างกายเพิ่มขึ้น น้ำผลไม้เลยไม่ได้ช่วยให้คลายร้อนกันพอดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น