ผ่าไส้ขนมไหว้พระจันทร์ หลายเรื่องราวที่ไม่เคยเปิดเผย

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 กันยายน 2552 17:35 น.
       ปีนี้เทศกาลไหว้พระจันทร์ตรงกับวันอังคารที่ 18 กันยายน แต่ตลาดขนมเปี๊ยะกลับเริ่มโหมโรงคึกคักกันมาตั้งแต่ 2 เดือนที่ผ่านมาแล้ว เสน่ห์ของขนมชิ้นเล็ก ๆ นี้ไม่เพียงแต่ความหวานอร่อยในรสชาติเท่านั้น แต่กลับเป็นตำนานขนมที่เดินทางมานานกว่า 600 ปีซึ่งไม่ธรรมดาเช่นกัน เพราะกว่าจะมาเป็นแป้งห่อด้วยไส้สวยงามเช่นนี้มีเรื่องราวที่น่าอัศจรรย์บอก เล่าได้อย่างสนุกสนาน ถ้าอยากรู้ต้องลองไปผ่าไส้ขนมกันดู……
      
       “ขนมไหว้พระจันทร์” มีความหมายถึงความพรั่งพร้อม ความสมบูรณ์ และความสมหวัง ขนมก้อนเล็ก ๆ ชิ้นนี้มีกำเนิดที่ประเทศจีนเมื่อ 600ปีมาแล้ว แต่ข้ามน้ำข้ามทะเลมาสู่เมืองไทยเป็นครั้งแรกเมื่อประมาณ 70 ปีที่ผ่านมา ในยุคที่เยาวราชเฟื่องฟูและเป็นแหล่งอาหารการกินอันลือชื่อที่สุดของ เมืองกรุง ตอนนั้นมี 5 เสือภัตตาคารที่ขายอาหารจีนเลิศรสที่บรรดาเศรษฐีเชื้อสายจีนในเมืองไทยจะ ต้องแวะเวียนไปชิมอยู่เป็นประจำคือ กก จีเหลาหรือสากลภัตตาคาร , ห้อยเทียนเหลาหรือภัตตาคารหยาดฟ้า , ไล้กี่ภัตตาคาร , ภัตตาคารเยาวยื่น และภัตตาคารซาเยี๊ยะ
       อนันต์ อธินันต์พันธุ์ ทายาท "กก จีเหลา" ( ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น”กอกใจ” ) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ที่เปิดตำนานขนมไหว้พระจันทร์ของเมืองไทยเล่าว่าเมื่อ เกือบ 70 ปีที่ผ่านมาภัตตาคารจีนเกือบทุกแห่งในเวลานั้นต่างก็เริ่มทำขนมไหว้พระ จันทร์ขึ้นมาในเวลาไล่เลี่ยกันเพราะแต่ละที่จะมีกุ๊กเป็นชาวฮ่องกงประจำทั้ง นั้น
       สำหรับทางภัตตาคารกกจีเหลานั้นได้เชิญอาจารย์โหลวอึ่ง ซึ่งเชี่ยวชาญทางด้านขนมไหว้พระจันทร์มาเมืองไทยเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 “เฮียฮ้อ” ซึ่งเป็นเถาชิ้วเก่าแก่ของกกจีเหลาเล่าว่า
       “ ผมจำได้ว่าตอนอาจารย์โหลวมาเมืองไทยเพื่อทำขนมนั้นเมืองไทยยังมีโรงฝิ่นอยู่ เลย พออาจารย์นวดแป้งขนมเสร็จเรียบร้อยก็จะต้องแวะไปสูบฝิ่นก่อน พวกเราก็ต้องนั่งเฝ้าแป้งจนกว่าอาจารย์จะสูบฝิ่นเสร็จค่อยกลับมาทำขนมได้”
      
       **กำเนิดขนมไส้ทุเรียน**
       
สมัยก่อนถ้าอยากจะกินขนมไหว้พระจันทร์นั้นจะต้องอด ใจรอให้ถึงช่วงเทศกาลไหว้พระจันทร์เสียก่อนเพราะปีหนึ่งจะทำขายกันเพียง ครั้งเดียวเท่านั้น บรรดาชาวไทยเชื้อสายจีนจะเดินทางมาซื้อขนมไหว้พระจันทร์ที่ย่านเยาวราชเพราะ ถือเป็นแหล่งขายขนมชนิดนี้ที่ใหญ่ที่สุดและคึกคักที่สุดด้วย แต่ละร้านค้าจะตั้งตู้โชว์ไว้หน้าร้านขณะที่หลังร้านก็จะทำขนมไหว้พระจันทร์ กันอย่างชุลมุนวุ่นวายทีเดียว
       

       ในยุคแรก ๆ นั้นไส้ขนมมีเพียงไม่กี่ไส้ตามแบบเมืองจีนคือ ไส้ลูกบัว ไส้โหงวยิ้ง ไส้โอวเต่าซา( ไส้ถั่วดำ) ซึ่งตอนนั้นยังไม่มีไส้ทุเรียนแต่มีอยู่ปีหนึ่งถือว่าคุณอาของอานันต์เป็นคน แรกที่ให้กำเนิดขนมเปี๊ยะไส้ทุเรียน สืบเนื่องจากมีคนนำทุเรียนกวนจากภาคใต้มาให้กิน แต่คุณอากลับมีความคิดว่าปกติคนไทยชอบกินทุเรียนมาก ถ้าเอาไปทำเป็นขนมไหว้พระจันทร์น่าจะอร่อย จึงทดลองทำขึ้นมาแล้วไปแจกพวกลูกค้าที่เล่นไพ่นกกระจอกให้ช่วยชิมหน่อย ปรากฏว่าทุกคนชมว่าอร่อยจึงเป็นเจ้าแรกที่ทำไส้ทุเรียนออกมาขาย
       ปรากฏว่าเมื่อนำขนมไส้ทุเรียนออกมาขายเป็นครั้งแรกนั้นขายดีมาก ๆ ขนาดลูกค้าแย่งกันซื้อจนเกือบจะตบดีกันทีเดียว ทางร้านจึงต้องขอจัดระเบียบด้วยการวางกฎให้ซื้อได้คนละ 5 กล่องเท่านั้น
      
       **“น้ำเชื่อม”สุดยอดเคล็ดวิชา**
       
ถ้าจะถามว่าขนมไหว้พระจันทร์ก้อนเล็ก ๆ นี้ ขั้นตอนไหนในการทำขนมให้อร่อยและยากที่สุดนั้น เชฟทุกคนจะตอบเหมือนกันคือ”น้ำเชื่อม”
       “น้ำเชื่อม”
ที่จะนำมาทำเป็นเปลือกสำหรับห่อขนมนั้นจะมีสูตรลับพิเศษที่คนจีนโบราณไม่ ค่อยจะยอมถ่ายทอดเคล็ดวิชานี้ให้แก่คนอื่นยกเว้นลูกหลานเท่านั้น เพราะน้ำเชื่อมที่ดีจะทำให้ขนมที่อบออกมาสีสวยงามสม่ำเสมอ สามารถปั้นแป้งให้บางจนเห็นไส้ข้างในชวนให้น่ารับประทานยิ่งนัก
       ส่วนผสมหลัก ๆ ของการทำน้ำเชื่อมนั้นมีน้ำตาลและน้ำนำไปเคี่ยวกับไฟประมาณ 5 ชั่วโมง จากนั้นใส่ไข่ขาวและน้ำมะนาวเข้าไป เหตุผลที่ต้องใส่ส่วนผสมอีก 2 อย่างนั้นถือเป็นภูมิปัญญาของคนโบราณโดยไข่ขาวจะช่วยฟอกสีของน้ำเชื่อมให้ ขาวและยังทำให้สิ่งสกปรกที่อยู่ในน้ำเชื่อมตกตะกอน ส่วนน้ำมะนาวจะทำให้น้ำเชื่อมไม่คืนตัวเป็นเกร็ดน้ำตาล
       สูตรนี้ถ้าจะให้อร่อยสุดยอดแล้วจะต้องทำแบบค้างปี คือต้มน้ำเชื่อมปีนี้แล้วเก็บเพื่อนำไปทำขนมในปีหน้า โดยน้ำเชื่อมนี้จะไม่บูดหรือเสียเลย
       “ ทางร้านจะทำน้ำเชื่อมแต่ละปีเสร็จแล้วจะเก็บใส่โอ่งมังกรสิบกว่าโองแล้วนำไป เก็บไว้ที่ชั้น 3 ของภัตตาคาร พออีกปีจึงจะนำมาทำขนม” เฮียฮ้อกล่าว
      
       **ลาวปั้นจีนกิน**
       
เป็นเรื่องที่แปลกแต่จริงซึ่งเป็นที่รู้กันในวงการ ทำขนมไหว้พระจันทร์ว่า แม้ขนมชนิดนี้จะนำสูตรมาจากประเทศจีน แต่กลุ่มคนที่ทำขนมไหว้พระจันทร์นี้เป็นกลับเป็นคนหมู่บ้านพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ในช่วงใกล้เทศกาลไหว้พระจันทร์นั้นว่ากันว่าในหมู่บ้านนี้เหลือเพียงคนแก่ และเด็กเท่านั้น เพราะหนุ่มสาวจำนวน 300 – 400 คนจะพากันเดินทางเข้ากรุงเทพฯกันหมดเพื่อไปทำขนม
       เหตุผลที่มาของปรากฏการณ์นี้เริ่มในยุคแรก ๆ ที่กก จีเหลาเริ่มทำขนมไหว้พระจันทร์นั้นจะต้องใช้คนงานเป็นจำนวนมาก จึงต้องจ้างลูกจ้างชั่วคราวเกือบ 100 คนมาช่วยทำขนมในช่วงเทศกาล และเริ่มแรกก็มีคนจากหมู่บ้านพิบูลมังสาหารมาช่วย จากนั้นเมื่อถึงวันที่ 12 สิงหาคมของทุกปี บรรดาคนหมู่บ้านนี้ก็จะรู้ว่าถึงเวลานัดหมายกันโดยไม่ต้องส่งจดหมายหรือ โทรศัพท์ไปบอกกล่าว บรรดาชาวบ้านกลุ่มนี้ก็จะรวมตัวกันเดินทางมารับจ้างทำขนมไหว้พระจันทร์ตาม ร้านต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ
       

       “ ยุคแรกที่เราทำขนมไหว้พระจันทร์นั้นขายดีมาก ๆ ต้องใช้คนงานผู้หญิงกวางตุ้ง 40 – 50 คนมานั่งแกะเม็ดบัวโดยเฉพาะ ที่เหลือก็ใช้คนงานประจำอีก 50 – 60 คน แล้วก็ต้องเรียกคนงานพวกที่มาจากหมู่บ้านพิบูลมังสาหารมาช่วยอีก 60 กว่าคน รวมแล้วต้องใช้คนทำไม่ต่ำกว่า 200 คน สำหรับขนมเปี๊ยะ 4 แสนลูกต่อปี “ เฮียฮ้อกล่าว
      
       **“มือเคาะ” มือทอง**
       
ขนมไหว้พระจันทร์ทุกลูกนั้นไม่ว่าจะไส้อะไรหรือสูตรอร่อยแค่ไหน แต่ถ้า”คนเคาะ” ทำ หน้าตาของขนมออกมาไม่สวยก็ทำให้ขนมชิ้นนั้นไร้เสน่ห์ได้เช่นกัน ดังนั้นคนทำหน้าที่เคาะขนมจึงสำคัญมาก คือเป็นผู้ที่จะต้องนำขนมที่ห่อไส้แล้วเป็นก้อนกลม ๆ เหมือนลูกบอลนำมากดลงบนพิมพ์แล้วใช้วิธีการเคาะ 3 จังหวะคือซ้าย ขวาและกลาง จากนั้นคว่ำพิมพ์ลงขนมก็จะหลุดออกจากพิมพ์ออกมาเป็นลูกกลมหรือเหลี่ยมอย่าง สวยงาม
       ฟังดูอาจจะคิดว่าทำง่าย แต่ความจริงแล้วคนที่ทำหน้าที่เคาะขนมที่ชำนาญในยุคนี้แทบจะนับตัวได้เลย เพราะจะต้องใช้คนที่ชำนาญจนรู้จังหวะที่จะลงน้ำหนักมือให้เท่ากันไม่เช่น นั้นขนมจะเบี้ยวออกมาไม่สวยหรือทำให้ขนมชิ้นนั้นเสียไปเลย
       คนเคาะขนมนั้นจะได้ค่าตัวที่แพงกว่าทุกตำแหน่งอย่างปัจจุบันจ้างกัน ที่ราคา 500 – 600 บาทต่อวัน ดังนั้นใครที่มีความสามารถทางด้านนี้ก็จะถูกจองตัวผูกขาดจากร้านทำขนมเปี๊ยะ พระจันทร์และจะต้องทำงานหนักตลอดเทศกาล เพราะหลังจากนี้ไปแล้วแต่ละคนก็ต้องกลับไปทำนา เป็นมอเตอร์ไซน์รับจ้าง หรือไปรับจ้างทาสี เลี้ยงชีพรอไว้ปีหน้าจึงจะเดินทางมาตามเวลานัด
       แต่ปัจจุบันคนนิยมกินขนมไหว้พระจันทร์มากขึ้น ความต้องการในช่วงเทศกาลมีหลายหมื่นลูกทำให้บางรายนำเข้าเครื่องทำขนมไหว้ พระจันทร์สำเร็จรูป ที่ใช้แรงลมแทนการเคาะขนมออกจากพิมพ์ และสามารถผลิตได้ครั้งละ 8 ลูกจึงทำให้ขนมไหว้พระจันทร์สามารถผลิตได้ทันตามความต้องการของลูกค้า
      
       

       **“พิมพ์ไม้” นิยายคลาสสิก**
       จะมีใครสังเกตบ้างไหมว่าขนมไหว้พระจันทร์ชิ้นสวย ๆ นั้นมีลวดลายอะไรและมีตัวหนังสือเขียนว่าอะไรบ้าง???
       บนหน้าขนมไหว้พระจันทร์นั้นนิยมทำเป็นรูปดอกไม้ ใบไม้ มังกร ยี่ห้อของร้าน เป็นต้น คนทำขนมรุ่นใหม่ ๆ จะไปหาซื้อพิมพ์เหล่านี้ได้ตามย่านพาหุรัดที่เป็นพิมพ์ไม้บ้าง พลาสติกบ้าง แต่ถ้าเป็นพิมพ์ขนมยุคเก่าดั้งเดิมนั้นจะต้องใช้พิมพ์ไม้เท่านั้นและที่ สำคัญจะต้องไปสั่งแกะสลักกันที่ประเทศจีน
       อนันต์ เล่าถึงความเป็นมาของพิมพ์ขนมว่าในยุคแรกนั้นทางภัตตาคารกกจีเหลาจะสั่งทำ พิมพ์ไม้มาจากฮ่องกง จนเมื่อประเทศไทยเปิดความสัมพันธ์กับประเทศจีนแล้วอนันต์จึงได้บุกไปที่มณฑล กวางเจาสืบเสาะจนพบตระกูลหนึ่งที่รับจ้างแกะสลักพิมพ์ไม้เพื่อใช้ทำขนมไหว้ พระจันทร์สืบทอดต่อกันมากว่า 3 ชั่วอายุคนแล้ว
       “มีเพียงร้านเดียวเท่านั้นตั้งอยู่ในเมือง พอได้พบและพูดคุยกันแล้วถึงได้รู้ว่าพิมพ์เก่า ๆ ของที่ร้านกกจีเหลาที่เราสั่งทำที่ฮ่องกงนั้นก็ส่งมาให้เขาแกะเช่นกัน “ อนันต์กล่าว
       พิมพ์ไม้แกะสลักของร้านนี้ถือว่าไม่ธรรมดาอย่างยิ่งเพราะรุ่นปู่เขา จะเก็บไม้เนื้อแข็งเป็นชิ้น ๆ กว่าหมื่นชิ้น และไม้แต่ละชิ้นจะต้องเก็บเกือบ20ปีจึงจะนำมาใช้แกะได้เพราะไม้จะแข็งและไม่ มีการหดตัว โดยจะเก็บไม้มาเป็นรุ่น ๆ ตามอายุของไม้ เมื่อมีการว่าจ้างให้แกะก็จะใช้ไม้รุ่นที่เก็บนานที่สุดมาใช้
       ฝีมือและเคล็ดวิชาการแกะสลักของตระกูลนี้ถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น เพราะเป็นการแกะสลักไม้ที่ไม่ธรรมดาเช่นกันคือแกะลึกเป็นหลุมลงไปและด้านใน จะแกะเป็นหน้าของขนมเปี๊ยะ ซึ่งจะต้องใช้ฝีมือและความชำนาญ เช่นถ้าแกะไม่เสมอกันเวลาเคาะแป้งก็จะไม่หลุดออกจากพิมพ์ หรือถ้าแกะลายคมเกินไปทำให้ขนมมีขอบเวลาอบแล้วจะไหม้ เป็นต้น
       ปกติพิมพ์ไม้ที่ดีแต่ละอันแม้จะถูกใช้เคาะทั้งวันแต่จะมีอายุการใช้ งานเป็น 10 ปีเช่น กัน ซึ่งขณะนี้ทางร้านกกจีเหลายังเก็บพิมพ์ไม้รุ่นเก่าไว้จำนวนหนึ่ง บางอันเป็นพิมพ์ขนาดใหญ่ที่มีอายุกว่า 50 ปี ซึ่งในปัจจุบันคงจะหาไม่ได้อีกแล้วเพราะไม่มีไม้ขนาดใหญ่ให้ใช้อีกแล้ว
       

       **“บัวหิมะ” ชิ้นแรกของเมืองไทย**
       
ถ้าใครเป็นนักชิมขนมไหว้พระจันทร์คงจะเคยเห็นขนม ชนิดหนึ่งที่หน้าตาแปลกไปตรงที่ใช้แป้งขนมโก๋เป็นสีขาวและสีเขียวห่อไส้แทน แป้งสีน้ำตาล ซึ่งขนมนี้ที่เมืองจีนที่เรียกขานกันว่า “ บัวหิมะ”
       “บัวหิมะ”
เป็นขนมที่นิยมของคนฮ่องกงมาก สำหรับเมืองไทยนั้นรายแรกที่นำขนมเปี๊ยะบัวหิมะมาเผยแพร่ในเมืองไทยนั้นคือ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯในยุคของชวลิต ทั่งสัมพันธ์ เจ้าของโรงแรมฯที่ได้ชื่อว่าชอบเสาะหาแต่ของอร่อย ๆ มาไว้ในโรงแรม เมื่อเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา ฟูเก๋ง เชฟชาวฮ่องกงที่มาทำขนมประจำโรงแรมแอมบาสซาเดอร์ได้นำสูตรขนมเปี๊ยะบัวหิมะจากฮ่องกงมาทำขายเป็นครั้งแรกที่โรงแรมแห่งนี้
       “ ก่อนหน้านั้นเราเป็นโรงแรมแห่งแรกที่ทำขนมไหว้พระจันทร์ออกมา และประมาณปี 2526 เราก็ทำบัวหิมะออกมาขายปรากฏว่าขายดีมาก ๆ เพราะแปลกและไม่มีใครทำมาก่อน ลูกค้ากินแล้วชอบบอกว่าเย็นชื่นใจดี “ ป้าณี-ภารุณี ปิ่นถาวรลักษณ์ เชฟขนมไหว้พระจันทร์ของโรงแรมฯกล่าว
       แม้ว่าปัจจุบันจะมีหลายรายที่ทำ”บัวหิมะ” ขึ้นมา แต่ก็ไม่มีใครทำแป้งที่ห่อได้เหนียวนุ่มและอร่อยได้เท่ากับเจ้าตำรับแบบโรง แรมแอมบาสซาเดอร์ บัวหิมะสูตรดั้งเดิมสมัยฟูเก๋งยังคุมอยู่นั้นจะมีแป้งสีขาวและสีเขียวจากใบ เตย แต่ปัจจุบันจะมีสีแดงที่ทำจากน้ำหวานสละมาเป็นอีกทางเลือกให้แก่ลูกค้า โดยป้าณีเล่าว่าก่อนจะถึงช่วงเทศกาลไหว้พระจันทร์นั้นจะต้องเตรียมตัวประมาณ 2 เดือน และจะทำขนมไหว้พระจันทร์แบบสดใหม่ทุกวัน ขนมบัวหิมะจะมียอดขายดีที่สุด
      
       **S&P จุดประกายตลาด**
       
ยุคก่อนนั้นถ้าอยากจะกินขนมไหว้พระจันทร์จะต้องรอ ให้ถึงเทศกาลเสียก่อนและต้องไปหาซื้อตามย่านเยาวราชที่เป็นแหล่งใหญ่ซึ่งจะ มีขนมยี่ห้อเก่าแก่ที่ล้วนแต่เป็นชื่อภาษาจีนทั้งนั้น เช่นกก จีเหลา( ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นกอกใจ) ไล้กี่ , ท่องกี่ , แต้เล่าจิ้นเส็ง เป็นต้น
       แต่เดี๋ยวนี้อยากจะกินขนมไหว้พระจันทร์ไม่ยากเย็นอีกแล้ว ไปเดินตามห้างสรรพสินค้าก็จะมีซุ้มที่รวบรวมขนมไหว้พระจันทสารพัดยี่ห้อมา เรียงรายให้เลือกซื้อเลือกกินกันสะดวกสบาย ผู้ที่จุดประกายความเปลี่ยนแปลงนี้คงต้องยกให้ค่าย S&P
       และต้องยอมรับว่าค่ายS&P เป็นผู้สร้างตำนานขนมไหว้พระจันทร์หน้าใหม่ขึ้นมาเมื่อ 6 – 7 ปีก่อน เมื่อค่ายนี้หันมาเปลี่ยนโฉมขนมไหว้พระจันทจากสไตล์โฮมเมดแบบเดิม ๆ ให้กลายมาเป็นแบบแมสโปรดักส์ที่นำเครื่องมือมาช่วยในการผลิตเพื่อให้ได้ ปริมาณเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ใช้กลยุทธ์ทางการตลาดเปลี่ยนพฤติกรรมคนกินให้ซื้อขนมไหว้พระ จันทร์ไม่เพียงแต่ซื้อเพื่อนำไปไหว้ตามประเพณีเท่านั้น แต่ยังกลายเป็นขนมที่ซื้อฝากผู้ใหญ่โดยใช้การออกแบบกล่องให้สวยงามเพื่อดึง ดูดจนถึงขนาดบางปีการแข่งขันเรื่องกล่องใส่ขนมเพื่อแย่งชิงลูกค้านั้นเข้ม ข้นดุเดือดยิ่งกว่ารสชาติของขนมเสียอีก
       จนถึงขณะนี้ขนมไหว้พระจันทร์มีมูลค่าการตลาดสูงถึง 200 กว่าล้านบาท โดยใช้เวลาขายเพียงแค่ 2 เดือนเท่านั้น มีคนนิยมลิ้มลองรสชาติหวานอร่อยของขนมนี้ตั้งแต่คนจีนรุ่นเก่า ลูกหลานคนจีนรุ่นใหม่ จนถึงหนุ่มสาวรุ่นใหม่ และมีผู้ที่โดดเข้ามาทำขนมไหว้พระจันททั้งรายเล็กรายใหญ่เพิ่มขึ้นกว่า 10 ราย
      
       **ขนมไหว้พระจันทสำหรับคนรุ่นใหม่**
       จนถึงวันนี้วัฒนธรรมของขนมไหว้พระจันทร์เริ่มถูกสั่นคลอนด้วยคนรุ่น ใหม่ที่เข้ามาจับธุรกิจนี้เพื่อปูฐานสินค้าเข้าสู่คนรุ่นใหม่ที่มีนิสัยต้อง การสัมผัสความแปลกใหม่ ไส้เดิม ๆ ที่เคยมีอยู่เพียง 3- 5 อย่างให้เลือกนั้นก็เริ่มมีไส้แปลก ๆ ใหม่ ๆ เพื่อเป็นทางเลือกมากขึ้น อย่างเมื่อ 2 – 3 ปีก่อนนั้นกระแสชาเขียวเพื่อสุขภาพกำลังมาแรงก็มีหลายรายที่นำชาเขียวมาทำ เป็นไส้ขนมไหว้พระจันทร์ซึ่งก็ขายดิบขายดีเช่นกัน
       ส่วนเมื่อปีที่แล้วกระแสลูกพรุนเพื่อสุขภาพกำลังมาแรงก็มีหลายรายที่ หันมาทำไส้ลูกพรุน และที่แหวกแนวคงเป็นค่ายเชียงการีล่าที่คว้าสาหร่ายสไปรูไรน่าที่มีสรรพคุณ เพื่อสุขภาพมาทำเป็นไส้ขนมด้วย
       ธรรมนูญ สุภานุรัตน์ คนหนุ่มรุ่นใหม่เจ้าของขนมไหว้พระจันทร์ยี่ห้อร้านบ้านกอไผ่ เพิ่งจะเปิดตัวขนมไหว้พระจันทร์เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา โดยมีจุดเด่นที่ฉีกแนวเดิมอย่างสิ้นเชิงคือ “ไส้ขนม” แปลกใหม่ที่จับตลาดทั้งคนรุ่นเก่าที่ห่วงใยสุขภาพ โดยมีไส้ที่แปลกแหวกแนวคือ ลูกบัวแปะก๋วย งาดำเม็ดแตง ชาเขียวญี่ปุ่น เกาลัดลูกพลับญี่ปุ่น ลำใยรากบัว ลิ้นจี่จักรพรรดิ์รากบัว ลูกพรุนบีทรูท ชาอู่หลง และไฮไลท์แบบอลังการคือไส้โสมตังกุย ส่วนขนมไหว้พระจันทร์ที่นำมาเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่อาทิ ม็อคค่าโอริโอ ช็อคโกแลตบราวนี่ กาแฟคาปูชิโน เป็นต้น
       สำหรับปีนี้ร้านบ้านกอไผ่นำเสนอรสใหม่ อาทิ ขิงหอมผสมน้ำผึ้ง , งาขาวแม็คคา , ทุเรียนก้านยาว เป็นต้น
       และแทบไม่น่าเชื่อว่าค่ายสตาร์บัคส์ กาแฟชื่อดังของอเมริกาก็ดีเดย์ชักธงรบเข้าสู่ตลาดขนมเปี๊ยะไหว้พระจันทร์ใน เมืองไทยเช่นกัน หลังจากที่ประสบความสำเร็จจากที่ไต้หวันและฮ่องกงมาแล้ว
       “ สตาร์บัคส์เริ่มทำขนมไหว้พระจันทร์ครั้งแรกที่ไต้หวันและฮ่องกงเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา และไม่น่าเชื่อว่าจะขายดีมาก ๆ” สุมลพินทุ์ โชติกะพุกกะณะ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารการตลาด สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ ไทยแลนด์กล่าว
       ทั้งนี้ค่ายสตาร์บัคส์ในเมืองไทยได้เปิดตัวขนมเปี๊ยะไส้กาแฟเอสเพรส โซ่ โรส์ในราคาชิ้นละ 95 บาท โดยได้สูตรมาจากสตาร์บัคส์ที่ไต้หวัน และนำมาดัดแปลงให้เข้ากับลิ้นคนไทย โดยส่วนผสมหลักของไส้จะมีถั่วแมคคาเดเมีย เม็ดบัว และไข่แดงและที่ขาดไม่ได้คือกาแฟเอสเพรสโซ โรสท์ ที่เพิ่มกลิ่นหอมของรสกาแฟเข้าไป สำหรับปีนี้ค่ายสตาร์บั๊คมีไส้ใหม่มาเอาใจคอกาแฟด้วยไส้ทุเรียน
       ตำนานการเดินทางของขนมไหว้พระจันทร์ของเมืองไทยยังไม่จบ เพียงเท่านี้ แต่อย่างไรก็ตามถ้าคุณอยากที่จะรู้จักกับขนมนี้ให้มากขึ้นคงต้องลองชิมดูจะ ดีกว่า ส่วนจะเป็นยี่ห้อไหนบ้างนั้นแล้วแต่ใจของคุณเถอะ

       
       หมายเหตุ...บทความนี้เคยตีพิมพ์ในผู้จัดการรายวันเมื่อวันที่10 กันยายน 2547

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

5 สุดยอดร้านสุกี้ทั่วกรุง 5 สุดยอดร้านโจ๊กในกรุงเทพ 50 อาหารแปลกแต่ขายดีของญี่ปุ่น 101 เมนูซูชิ 5 สุดยอดร้านกระเพาะปลาในกรุงเทพ อาหาร 100 อย่างตามทางรถไฟสายยามาโนเตะ อาหารเวียดนาม ขนมไทยโบราณที่น่าจดจำ และ ขนมไทยมงคล ๙ อย่าง 30 อันดับขนมหวานเมืองคามาคูระประเทศญี่ปุ่น อาหารประเทศอาเซียน 7 ขนมหวานยอดฮิตของเยอรมัน  อาหารลาว 10 สายพันธุ์งูน่าทึ่ง 25 สถานที่ดำน้ำทั่วโลก 25 สัตว์น้ำรูปร่างหน้าตาประหลาด ไขปริศนาใครคือแจ๊คเดอะริปเปอร์ (Jack The Ripper) 20 พืชผักแปลกสายพันธุ์เก่าแก่ 10 อันดับสัตว์มีพิษ ตำนานธอร์ (Thor) เทพสายฟ้า 10 อันดับสัตว์สถาปนิก 15 สัตว์โลกสวยงามที่ใกล้สูญพันธุ์ เปิดแฟ้มลับชีวิตรัก อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) เห็ดมีพิษ 10 อันดับฆาตกรเด็ก 10 อันดับสัตว์ผีดูดเลือด 10 อันดับสัตว์แปลกที่คนไทยนิยมเลี้ยงมากที่สุด 10 เกมส์ดีที่โลกควรรู้จัก ช่วยฝึกสมอง เด็กเล่นได้ไม่รุนแรง แนะนำ Android Games Cloud Computing http://megatopic.blogspot.com/2013/08/20-90s.html http://megatopic.blogspot.com/2013/12/dead-island-riptide.html http://megatopic.blogspot.com/2013/09/blog-post_2.html http://megatopic.blogspot.com/2013/08/application-iphone-ipad-1.html http://megatopic.blogspot.com/2013/06/blog-post_866.html http://megatopic.blogspot.com/2013/08/101.html http://megatopic.blogspot.com/2013/08/application-iphone-ipad-1.html http://megatopic.blogspot.com/2013/07/botox-filler.html http://megatopic.blogspot.com/2013/07/blog-post_8739.html http://megatopic.blogspot.com/2013/07/blog-post_8.html http://megatopic.blogspot.com/2013/08/great-wall-of-china.html http://megatopic.blogspot.com/2013/07/blog-post_3921.html http://megatopic.blogspot.com/2013/10/blog-post_24.html http://megatopic.blogspot.com/2013/07/blog-post_8781.html http://megatopic.blogspot.com/2013/08/blog-post_23.html http://www.blogger.com/%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7...%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2http://megatopic.blogspot.com/2013/07/blog-post.html http://megatopic.blogspot.com/2013/07/blog-post_19.html http://megatopic.blogspot.com/2013/10/blog-post_6477.html http://megatopic.blogspot.com/2013/07/butterfly-pea.html http://megatopic.blogspot.com/2013/07/blog-post_7684.html http://megatopic.blogspot.com/2013/08/blog-post_6.html http://megatopic.blogspot.com/2013/07/blog-post_27.html http://megatopic.blogspot.com/2013/06/nikita-khrushchev.html http://megatopic.blogspot.com/2013/07/blog-post_16.html http://megatopic.blogspot.com/2013/07/blog-post_3574.html http://megatopic.blogspot.com/2013/08/8.html http://megatopic.blogspot.com/2013/08/blog-post_22.html http://megatopic.blogspot.com/2013/07/blog-post_954.html http://megatopic.blogspot.com/2013/07/blog-post_28.html http://megatopic.blogspot.com/2013/09/blog-post_17.html http://megatopic.blogspot.com/2013/11/2-tasty-too.html http://megatopic.blogspot.com/2013/06/blog-post_22.html http://megatopic.blogspot.com/2013/06/10.html http://megatopic.blogspot.com/2013/07/7.html http://megatopic.blogspot.com/2013/07/blog-post_4.html http://megatopic.blogspot.com/2013/06/blog-post_7834.html http://megatopic.blogspot.com/2013/06/stephen-hawking.html http://megatopic.blogspot.com/2013/09/10_13.html http://megatopic.blogspot.com/2013/09/10_27.html http://megatopic.blogspot.com/2013/08/10.html http://megatopic.blogspot.com/2013/07/blog-post_14.html http://megatopic.blogspot.com/2013/08/acerola-cherry.html http://megatopic.blogspot.com/2013/07/blog-post_18.html http://megatopic.blogspot.com/2013/07/albert-einstein.html http://megatopic.blogspot.com/2013/07/blog-post_30.html http://megatopic.blogspot.com/2013/08/blog-post_26.html http://megatopic.blogspot.com/2013/09/blog-post_6378.html http://megatopic.blogspot.com/2013/09/blog-post.html http://megatopic.blogspot.com/2013/10/blog-post_28.html http://megatopic.blogspot.com/2013/11/blog-post_24.html http://megatopic.blogspot.com/2013/06/apache-helicopter.html http://megatopic.blogspot.com/2013/08/blog-post_7038.html http://megatopic.blogspot.com/2013/08/25_22.html http://megatopic.blogspot.com/2013/06/blog-post_20.html http://megatopic.blogspot.com/2013/08/blog-post_28.html http://megatopic.blogspot.com/2013/07/blog-post_4929.html http://megatopic.blogspot.com/2013/06/blog-post.html http://megatopic.blogspot.com/2013/07/blog-post_18.html