โดย : แม่ช้อยนางรำ | ||||
พอปลายเดือนที่ผ่านมา ผมก็ไปกินข้าวกับเขา "วิมล กิจบำรุง" ที่รีสอร์ทสวยซึ้งที่หนึ่งเมืองลาว" มันแปลกดีน่ะ..มันแปลกดีเจ้าค่ะ เมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา อีชั้นเพิ่งจะได้อ่านหนังสือเรื่อง "เขาว่าช้อยบ้า" เขียนโดย คุณ"วิมล กิจบำรุง" คนไทยที่ไปบุกเบิกสร้างรีสอร์ทอยู่กลางปากเมืองปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ด้วยความรู้สึกทึ่ง!! นึกไม่ถึงว่าจะมีคนไทยใจกล้า เข้าไปอยู่ป่าลาว บุกเบิกงานรีสอร์ทที่ยากลำบาก เพราะไม่มีเครื่องจักร ไม่มีไฟฟ้า มีแต่ชาวป่าชาวเขา แต่สามารถทำสำเร็จเสร็จสิ้นได้ กลายเป็น "รีสอร์ท" ที่มีชื่อเสียงระดับโลก "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา" ทรงเสด็จไปทอดพระเนตรมาแล้ว เมื่อสอง..สามปีที่ผ่านมานี้ อีชั้น ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ด้วยสนใจ ตามประสารักป่าเขาลำเนาไพร แต่ไม่มีความสามารถที่จะทำได้เหมือนเขา อ่านแล้วก็เฝ้าชื่นชมนิยมกัน | ||||
จนมีข้อมูลเพียงพอที่มาเขียนเล่าต่อ โดยเฉพาะ "เมนูแม่ช้อย" ที่อีชั้นไปเปิบมา..อร่อยดี แซบอีหลีเด้อ!! จึงขอเขียนเสนอ ถ้าท่านมีโอกาสเดินทางไปรีสอร์ทแห่งนี้เข้าสักวัน เมนูอาหารแนะนำ "รีสอร์ทอุทยานบาเจียง" (ผาส่วม) -ปลาน้ำโขงทอดกระเทียมพริกไทย (ขอแนะนำให้สั่งปลานาง เมืองไทยเรียกว่าปลาเนื้ออ่อน) -น้ำพริกมะเขือเทศเผา (แบบลาวเฮ็ด) -ต้มยำไก่บ้าน / ผัดผักสะเวอ (ฟักแม้วหรือมะระหวาน) -ลาบปลา และลูกสำรองลอยแก้ว อาหารกลางป่าใน "อุทยานบาเจียง" มีเพียงไม่กี่อย่าง แต่ทุกอย่างอร่อยแบบธรรมชาติ แต่รับรองว่าสะอาด เพราะอีชั้นแอบย่องไปมองดูในครัว โปรดสังเกตตามรูปที่ถ่ายมา | ||||
อาหารที่นี่ใช้อาหารธรรมชาติ ปลาสด...สดจากแม่น้ำโขงไม่มีแช่น้ำแข็ง ขอเรียนท่านผู้อ่านว่า ปลาน้ำโขง...อร่อยที่สุดอยู่ที่ "แขวงจำปาสัก" เพราะน้ำโขงที่นี่มีเกาะแก่งมากที่สุด แก่งหินใหญ่บริเวณใกล้กับอุทยานฯ เรียกว่า "สี่พันดอน" (คือมีดอนหินกลางแม่น้ำโขงมากมายสัก 4,000 ดอนเห็นจะได้) ปลาที่นี่จึงแข็งแรง ต้องว่ายทวนกระแสแรงตลอดเวลา ปลาจึงเนื้อแน่นไม่คาว นอกจากที่ว่านี้แล้ว ผักหญ้าที่ใช้เป็นผักปลอดสารพิษ ปลูกแบบธรรมชาติ หวานกรอบ...หวานหอมเป็นพิเศษ และอีกอย่างที่สำคัญเช่นกัน ...อาหารที่นี่ไม่ใส่ "ผงชูรส" เจ้าค่ะ... | ||||
กาแฟที่แขวงจำปาสักมีมากที่สุดในเมืองลาว กาแฟจำปาสักมีชื่อเสียงโด่งดังของประเทศนี้ แต่กาแฟจำปาสักชงอร่อยที่สุดอยู่ที่นี่!! สูตรลิ้นและมือของคนไทย แต่กาแฟใช้พันธุ์ลาว ใครจะรู้ใจคนไทยเท่าคนไทยด้วยกันเล่า อ่านถึงตอนนี้แล้วอย่าสงสัยเลยว่า ทำไมอีชั้นจึงเขียนคำว่า "ผาส่วม" บ้าง "ผาส้วม" บ้าง ก็ต้องอธิบายอย่างนี้ว่า "ผาส้วม" ...เป็นคำลาวซึ่งถ้าจะเขียนให้ถูกต้องก็ว่า... "ตาดส้วม" เพราะคำว่าตาดหมายถึงน้ำตก ส่วนคำว่า "ผาส่วม" ...เป็นคำไทยที่พยายามจะเรียกไม่ให้ออกเสียงเป็น "ส้วม" เพราะมันไพเราะหู ดูทะแม่ง...ทะแม่ง แต่ก็เรียนท่านว่า จะเรียกว่า "ผาส้วม" หรือ "ผาส่วม" ที่นี่ไม่ต้องรอให้ใครมาชวน ไปเองเถิดเจ้าค่ะ แล้วจึงจะเข้าใจว่าอีชั้นถึงเขียนรำพึง...รำพันจนยาวเหยียดประการนี้ ******************************************************** ******************************************************** (ค้นหารายละเอียดได้จากหนังสือ "เขาว่าข้อยบ้า" เขียนโดย "วิมล กิจบำรุง" จาก "ศูนย์หนังสือจุฬา" ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย/สยามสแควร์ และจามจุรีสแควร์สามย่าน) |
รีวิวอาหารจากร้านต่างๆ บุฟเฟ่ต์โรงแรม รีวิวร้านอาหาร เมนูอาหารน่าทาน รูปภาพอาหาร การทำอาหาร ส่วนผสม วัตถุดิบในการทำอาหาร เมนูอาหารคาว เมนูขนมหวาน เมนูเครื่องดื่ม ตามหาร้านอาหารอร่อย ร้านอาหารในดวงใจ เมนูวัตถุดิบพิเศษ credit www.manager.co.th, www.bloggang.com www.horapa.com,www.foodietaste.com,women.kapook.com
กินอาหารกลางป่า "จำปาสัก-ปากเซ" "ผาส้วม"/แม่ช้อยนางรำ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น